กองทุนสื่อ จัดงานสัมมนาออนไลน์ (WEBINAR) ระดับโลกครั้งแรกในไทย “TMF MEDIA FORUM 2022 : World Collaboration


“กองทุนสื่อ” จัดงานสัมมนาออนไลน์ (WEBINAR) ระดับโลกครั้งแรกในไทย “TMF MEDIA FORUM 2022 : World Collaboration” มุ่งพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อ เชื่อมต่อโอกาสทางธุรกิจอุตสาหกรรมสื่อไทย สู่ “ฮอลลีวูด”และแพลตฟอร์มระดับโลก

ปัจจุบัน “อุตสาหกรรมสื่อ” ทั่วโลกก้าวไปอย่างรวดเร็วและพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นอุตสาหกรรมสื่อไทย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมพร้อมพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อก้าวให้ทันโลกอยู่เสมอ

ทาง “กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” หรือ “Thai Media Fund” ได้เล็งเห็นว่า ความสำคัญ ในการส่งเสริมสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์นั้น จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับ สภาพแวดล้อมของสื่อ ระหว่างประเทศ ความรู้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและการคุ้มครอง ความเข้าใจในแหล่งเงินทุนสำหรับสื่อ ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ตลอดจนความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลง ไปต่อบทบาทของผู้ผลิตและผู้กำกับรายการบันเทิง การรับรู้ถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในการผลิตความบันเทิงสมัยใหม่และเทคนิคหลังการผลิต รวมทั้งความเข้าใจ ในการเปลี่ยนแปลง และการเผยแพร่ผลงานที่อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสื่อของไทยในตลาดโลก

จากวิสัยทัศน์นี้ทางกองทุนฯ จึงเล็งเห็นโอกาสในการยกระดับศักยภาพผู้ผลิตสื่อให้สามารถ สร้างสรรค์ผลงาน ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกในมิติต่างๆทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ ที่มีต้นทุนทาง วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ที่เป็น Soft Power ผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก ให้ก้าวขึ้นไปอยู่ในแพลตฟอร์มระดับโลก โดยการสนับสนุนให้ประชาชนมีความเข้าใจ รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมสื่อและเทคโนโลยี นวัตกรรมในระดับสากล

ด้วยความสำคัญเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของการจัดงาน “สัมมนาออนไลน์ (WEBINAR) เกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมสื่อในระดับสากล” หรือ งาน “TMF MEDIA FORUM 2022” ขึ้น ภายใต้แนวคิด WORLD COLLABORATION เพื่อเปิดมุมมองใหม่ในการเชื่อมโยง สื่อสร้างสรรค์ไทยในเวทีโลก โดยมีการเชิญผู้มีประสบการณ์ จากวงการสื่อในทุกองค์ประกอบ จากฝั่งฮอลลีวูดและแพลตฟอร์มระดับโลก มาร่วมบรรยายให้ความรู้ถึงเทคนิค แนวคิด โอกาสทางธุรกิจ และวิธีการในการพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อใน ทุกมิติอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเป็นโอกาสในการพาอุตสาหกรรม สื่อไทยก้าวขึ้นสู่เวทีระดับโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ

สำหรับงาน TMF MEDIA FORUM 2022 นี้ ทางกองทุนฯ มีการจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ และแนวปฏิบัติที่ดีของวงการสื่อระดับโลกโดยเฉพาะวงการบันเทิงฮอลลีวูดและประเทศไทย เพื่อเป็นการ

ส่งเสริมความรู้ ความชำนาญ รวมทั้งศักยภาพของผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อไทยในการพัฒนาเทคโนโลยีและ นวัตกรรมในวงการบันเทิง ล่าสุดจากแนวปฏิบัติระดับโลก อีกทั้งยังเป็นการให้ความรู้ และส่งเสริมการทำงาน ร่วมกันมากขึ้นระหว่างผู้เชี่ยวชาญ ด้านสื่อระดับสากล และระดับท้องถิ่นเกี่ยวกับความรู้ในอุตสาหกรรมสื่อ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อ ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์

ผู้เข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ (Webinar) ในงาน TMF MEDIA FORUM 2022 วันที่ 16 และ 17 มิถุนายน 2565 จะได้พบกับเหล่าวิทยากรมืออาชีพของโลกจากฝั่งฮอลลีวูดและแพลตฟอร์มระดับโลก ได้แก่
  ● Thomas Polson: Executive Post and VFX Producer
  ● Michael Peyser: Movie Producer, Media Educator and Innovator of Digital craft and the power of story
  ● Nicolas Simon : Founding & Managing Partner of Indochina Productions, Producer
  ● Erik Weaver : Head of Adaptive and Virtual Production at ETC
  ● หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล : Program Director of Viu Thailand
  ● Yolanda Macias : Cinedigm’s Chief Content Officer of Cinedigm Corp.
  ● พันคำ เวียนตระกูล: Filmmaker, Virtual Art Department Supervisor at Amazon Studios Virtual Production

โดยมีหัวข้อการบรรยายต่างๆ ดังนี้
   1. ความเข้าใจด้านสื่อ ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ที่ได้ถูกสร้างสรรค์ ขึ้น และองค์ประกอบแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทั้งระดับ ประเทศ และในระดับสากล
  2. ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงกระบวนการตั้งแต่การระดมทุนเพื่อสร้างสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ไปจนถึงกระบวน การผลิต ทั้งก่อนและหลังการผลิต
  3. บทบาทของผู้ผลิตสื่อในศตวรรษที่ 21 ยุคแห่งดิจิทัล : การเตรียมความพร้อม การผลิต บทบาท หน้าที่และความ รับผิดชอบ
  4. การปรับกระบวนทัศน์ด้วยนวัตกรรมการผลิตภาพยนตร์แบบเสมือนจริง
  5. เทคโนโลยี และเทคนิคพิเศษ สำหรับ Post Production 6. การที่ทำให้สื่อที่ได้พัฒนาและผลิตถูกคัดเลือก และการจัดจำหน่ายสู่สายตาผู้ชมในอุตสาหกรรมสื่อ ทั้งระดับประเทศ และระดับโลก


ใหม่กว่า เก่ากว่า